เว็บไซต์มีกี่ประเภท อะไรบ้าง?
การที่เราจะทำการสร้างเว็บนั้น เราสามารถเขียนได้โดยภาษาโปรแกรมค ซึ่งมันก็มีอยู่หลายๆ ภาษาให้เราเลือกใช้ โดยภาษาที่ง่านที่สุดก็คงไม่พ้น HTML ซึ่งสามารถแสดงรูปภาพและข้อความต่างๆ ให้ผู้ใช้งานเว็บสามารถดูได้ ถ้าหากคล่องแคล่วทางด้านการเขียนภาษา HTML กันแล้ว เราก็พัฒนาเว็บของเราให้มีความน่าสนใจยิ่งขึ้น โดยการเขียนสคริปเพิ่มเติมลงไปครับเพื่อเพิ่มการติดต่อกับผู้ใช้งานได้ดีขึ้น โดยหลักแล้วเราสามารถแบ่งประเภทเว็บได้เป็น 2 กลุ่มด้วยกัน คือเว็บเป็น สเตติก (Static Web) และเว็บแบบไดนามิกเว็บ (Dynamic Web)
1.เว็บไซต์แบบคงที่ ( Statistic Website )
เว็บแบบสเตติกนั้นคล้ายๆ กับหน้ากระดาษธรรมดาๆ คือ เว็บบราวเซอร์ไม่มีการโต้ตอบกับผู้ใช้ (เว็บบราวเซอร์คือโปรแกรมที่ใช้ในการแปลเอกสารในรูปของสคริป HTML มาแสดงให้ผู้ใช้งาน ก็พวก IE , Friefox , Opera ) แต่จะทำหน้าที่เป็นตัวที่ร้องขอข้อมูลจากเซิฟเวอร์ และแสดงผลให้ผู้เรียกใช้ดูเท่านั้น เว็บแบบนี้ขาดความน่าสนใจในการชม แล้วก็ยังทำภาระให้กับเครื่องเซิฟเวอร์ซ่ะด้วยเพราะการตอบโต้กับผู้ใช้งานทั้งหมดเกิดขึ้นจากการประมวลผลที่เครื่องเชิฟเวอร์ทั้งสิ้น เช่น การสร้างแอพพลิเคชั่นฐานข้อมูลที่ส่งมาจากแบบฟอร์ม หากเราใช้ระบบ สเตติก เมื่อผู้ใช้กรอกข้อมูลมาผิด กว่าผู้ใ้ช้เขาจะทราบว่าข้อมูลนั้นผิด ก็ต้องส่งข้อมูลมาตรวจกันที่เชิฟเวอร์ แล้วส่งมาให้ผู้ใช้อีกหนึ่งที เหอๆ เสียเวลาใช่ไหมล่ะ ทำให้ข้อมูลวิ่งไปวิ่งมาโดยไม่จำเป็นเลย
แต่ก็เป็นเว็บไซต์ที่สามารถแสดงผลข้อมูลได้เร็ว เนื่องจากไม่มีการใช้ภาษาเชิงโปรแกรมและฐานข้อมูลมาร่วมใช้งานด้่วย ไม่มีความซับซ้อนในการออกแบบ ทำให้ใช้เวลาสั้นในการสร้างเว็บไซต์ประเภทนี้ และเป็นเว็บไซต์ที่มีความเข้ากันได้กับระบบ Search Engine เช่น Google.com ฯลฯ ได้เป็นอย่างดี ทำให้ติดอันดับการค้นหาได้อย่างรวดเร็ว แต่ข้อเสียก็คือ ไม่สามารถโต้ตอบกับผู้ใช้งานได้แบบ Real Time ผู้ใช้งานต้องรอการโต้ตอบจากผู้ดูแลเว็บไซต์เพื่อทำตามคำร้องขอที่ส่งเข้ามา ตัวอย่างเว็บไซต์แบบคงที่ เช่น geocities.com
2.เว็บไซต์แบบเคลื่อนไหว ( Dynamic Website )
อันนี้คุ้นหูคุ้นตามามากมายแล้วล่ะสำหรับพวกเรา คือไดนามินเนี่ยมันจะเป็นเว็บที่มีการตอบโต้กับผู้ใช้ โดยใช้บราวเซอร์ของเครื่องผู้ใช้เอง เช่นเราส่งข้อมูลทางเว็บบอร์ดกดตั่งกระทู้ บราวเซอร์ก็จะทำการเอง ทำให้รวดเร็วทันใจ ซึ่งสามารถเพิ่มลูกเล่น และใช้งานเว็บได้ดีขึ้น และนิยมใช้ในการตวจสอบข้อมูลในแอพพลิเคชั่นบนอินเตอร์เน็ตได้ดีอีกด้วย นอกจากนี้ที่ฝั่งของผู้ใช้เอง ยังช่วยแบ่งเบาภาระให้กับเซิฟเวอร์และระบบเครือข่ายได้เป็นอย่างดีด้วย
เว็บไซต์ไดนามิคเป็นที่นิยมอย่างมากในปัจจุบัน เพราะสามารถแสดงความเคลื่อนไหวของผู้ใช้ได้ทันที ทำให้เกิดประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ ตัวอย่างเว็บไซต์ไดนามิคที่คนไทยรู้จักดี เช่น Sanook.com , Hunsa.com , Mthai.com ฯลฯ
การออกแบบเว็บไซต์แบบไดนามิคมีความซับซ้อนในการออกแบบ ด้วยภาษาเฉพาะทาง เช่้น PHP , ASP , JAVA ฯลฯ โดยจะทำงานร่วมกับประเภทของฐานข้อมูลต่าง ๆ ที่นิยมใช้ ได้แก่ mySql , SQL , Access ฯลฯ การออกแบบจึงต้องใช้เวลาพอสมควร มากน้อยแตกต่างกันไปตามความซับซ้อนของโปรแกรม
อ้างอิง:
http://dexmore.com/topic/302
http://www.cms-4u.com/knowledge_id25.html
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น