2554/12/01

เข้าใจระบบโดเนมเนมและหรือชื่อของเว็บไซต์

โดเมนเนม..คืออะไร



ชื่อโดเมน หรือ โดเมนเนม (Domain Name) หมายถึง ชื่อที่ใช้ระบุลงในคอมพิวเตอร์ (เช่น เป็นส่วนหนึ่งของที่อยู่เว็บไซต์ หรือ อีเมล์แอดเดรส) เพื่อไปค้นหาในระบบ โดเมนเนม เพื่อระบุถึง ไอพีแอดเดรส (IP Address) ของชื่อนั้นๆ เป็นชื่อที่ผู้จดทะเบียนระบุให้กับผู้ใช้เพื่อเข้ามายังเว็บไซต์ของตน บางครั้ง เราอาจจะใช้ "ที่อยู่เว็บไซต์" แทนก็ได้ตัวอย่าง


ตัวอย่างต่อไปนี้ แสดงถึงความแตกต่างระหว่าง ยูอาร์แอล (URL) โดเมนเนม และ ซับโดเมน (Sub Domain)

ยูอาร์แอล: http://www.example.com หรือ http://subname.example.com/

โดเมนเนม: example.com

ซับโดเมน : subname.example.com

โดยทั่วไป ไอพีแอดเดรสกับชื่อเซิร์ฟเวอร์มักจะแปลงกลับไปมาได้ 1 ไอพีแอดเดรสมักหมายถึง 1 ชื่อเซิร์ฟเวอร์ แต่ปัจจุบัน ความสนใจในเรื่องเว็บ ทำให้จำนวนเว็บไซต์มีมากกว่าเซิร์ฟเวอร์ โพรโทคอล HTTP จึงระบุว่าไคลเอนต์จะเป็นผู้บอกเซิร์ฟเวอร์ว่าชื่อใดที่ต้องการใช้ วิธีนี้คือ 1 เซิร์ฟเวอร์สามารถใช้ได้หลายโดเมนเนม เช่น เครื่องไอพี 192.0.0.111 มีโดเมนเนมที่ใช้อยู่ 3 โดเมน คือ example1.com, example2.com และ example3.com

ชื่ออินเตอร์เน็ต

หมายเลขประจำตัวคอมพิวเตอร์เป็นตัวเลขที่จดจำได้ยาก ทำให้การอ้างถึงคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายอินเตอร์เน็ตโดยใช้หมายเลขไอพีไม่สะดวกต่อผู้ใช้คอมพิวเตอร์ ดังนั้นจึงมีระบบชื่อคอมพิวเตอร์ตามมาตราฐานของเครือข่ายอินเตอร์เน็ตซึ่งเรียกว่า "ดีเอ็นเอส" (DNS : Domain Name System) หรือระบบชื่อโดเมน เป็นตัวอ้างอิงแทน โดยชื่อดีเอ็นเอส ประกอบด้วยชื่อเครื่องคอมพิวเตอร์ ชื่อเครือข่ายท้องถิ่น ชื่อสับโดเมน (subdomain) และชื่อโดเมน อย่างไรก็ตามชื่อ ดีเอ็นเอส เป็นชื่อที่สอดคล้องกับหมายเลขไอพี ดังตัวอย่างชื่อดีเอ็นเอส ที่สอดคล้องกับคอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัยศรีปทุม

ชื่อโดเมนเป็นชื่อย่อประเภทขององค์กรในประเทศสหรัฐอเมริกา ตัวอย่างของชื่อโดเมนและประเภทขององค์กร ได้แสดงไว้ในตารางแล้ว สำหรับชื่อโดเมนที่เป็นชื่อย่อของประเทศต่าง ๆ ซึ่งเป็นประเทศนอกเหนือจากประเทศสหรัฐอเมริกานั้นก็ได้แสดงไว้ในตารางด้วยเช่นกัน ชื่อโดเมนที่เป็นรหัสย่อของประเทศอาจได้รับการกำหนดประเภทขององค์กรในประเทศนั้น ๆ ซึ่งเรียกว่า "สับโดเมน" ดังตัวอย่างชื่อสับโดเมนได้แสดงไปในตารางแล้ว

ที่อยู่อินเตอร์เน็ต

ที่อยู่อินเตอร์เน็ต หรือ ที่อยู่ในเครือข่ายอินเตอร์เน็ต (Internet address) ประกอบด้วยชื่อของผู้ใช้คอมพิวเตอร์ (Users) และชื่ออินเตอร์เน็ต (Internet name) ซึ่งมีรูปแบบดังต่อไปนี้ user@internet_name

หากผู้ใช้คอมพิวเตอร์มีรหัสผู้ใช้เป็น vithaya ซึ่งเป็นสมาชิกของศูนย์คอมพิวเตอร์ที่ชื่อ buntharik ซึ่งมีชื่ออินเตอร์เน็ตเป็น spu.ac.th ดังนั้นผู้ใช้คอมพิวเตอร์ผู้นี้จะมีที่อยู่อินเตอร์เน็ตเป็นดังนี้vithaya@buntharik.spu.ac.th
Domain Name System (DNS)

ดังที่ได้กล่าวมาแล้วว่า การสื่อสารโดยใช้ โปรโตคอล TCP/IP จะใช้เลข IP 32 บิต ในการอ้างถึงคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่อง ซึ่งเป็นการไม่สะดวกในการใช้และจดจำ ดังนั้นจึงมีการสร้างระบบที่ใช้ชื่ออ้างแทน IP Address โดยเรียกชื่อที่ใช้แทน IP Address ว่า "domain name" DNS คือระบบการจัดการข้อมูลเกี่ยวกับ domain name ให้กับผู้ใช้ใน network นั้น โดยที่ DNS จะมีลักษณะการจัดการตามลำดับขั้นแบบต้นไม้ (Hierarchy Tree) คล้ายกับโครงสร้างระบบไฟล์ของ Unix หรือ DOS กล่าวคือ โครงสร้างจะเริ่มแยกย่อยจาก root domain ลงไป เรียกโดเมนในระดับนี้ว่า "Domain Name Space"

Top level domain มีหน่วยงานที่ดูแลคือ INTERNIC (International Network Information Center) ซึ่งได้แบ่ง Top level domain ออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ

- Generic Domain คือกลุ่มโดเมนที่อยู่ในอเมริกา (เนื่องจากระบบนี้เริ่มพัฒนาขึ้นใช้ในอเมริกา แต่ต่อมาได้ขยายสู่ทั่วโลก) โดเมนเหล่านี้จะบ่งบอกถึงลักษณะการดำเนินการขององค์กร คือ

ชื่อย่อ โดเมนเนม ประเภทขององค์กรในสหรัฐอเมริกา

com company : สำหรับบริษัททั่วๆ ไป
edu education : สำหรับสถาบันการศึกษา
gov government : สำหรับหน่วยงานของรัฐบาล
int international : สำหรับองค์กรระหว่างประเทศ
mil military : สำหรับหน่วยงานทหาร
net network : สำหรับองค์กรที่ดำเนินงานด้านเครือข่าย

org organization : สำหรับองค์กรอื่น ๆ

- Country Domain คือกลุ่มของโดเมนที่เป็นชื่อย่อของแต่ละประเทศ เช่น uk คือโดเมนสำหรับ อังกฤษ และ th สำหรับ ประเทศไทย ในแต่ละประเทศก็จะมีหน่วยงานจัดการโดเมนภายใต้โดเมนประเทศตน สำหรับโดเมน th ก็จะมี THNIC เป็นผู้ดูแล

ชื่อย่อ โดเมนเนม ชื่อประเทศ

au Australia
fr France
jp Japan
th Thailand

uk United Kingdom

สำหรับการใช้ domain name แทน IP Address จะเริ่มจากชื่อเครื่องตามด้วยชื่อโดเมนระดับล่าง ไปสู่ระดับบนโดยแยกด้วย "." เช่น buntharik.spu.ac.th จะเห็นได้ว่าง่ายในการจดจำและยังสื่อให้ทราบว่าเครื่องชื่อ buntharik อยู่ภายใต้โดเมน spu ของสถาบันการศึกษาในประเทศไทย

การจดทะเบียน Domain แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
•การจดทะเบียน Domain ต่างประเทศ
•การจดทะเบียน Domain ภายในประเทศ

การจดทะเบียน Domain ต่างประเทศ
1..COM ใช้ทำเว็บไซต์ของบริษัท ห้างร้านโดยทั่วไป รวมทั้งเว็บไซต์ส่วนตัว และมีบางครั้งนำไปใช้ทำเว็บไซต์ (web site) ประเภทอื่นๆ ด้วย
2..NET ใช้ทำเว็บไซต์เกี่ยวกับระบบเน็ตเวิร์ค (network) ของคอมพิวเตอร์ หรือเว็บไซต์บริการอินเทอร์เน็ต แต่บางครั้งก็นำไปใช้ด้านอื่นด้วย

3..ORG ใช้ทำเว็บไซต์ของส่วนราชการ บางครั้งก็มีการจดทะเบียนนำไปใช้กับเว็บไซต์ประเภทอื่นด้วย

จากจากนั้นยังมีโดเมนเนมนามสกุลอื่นๆ อีกเป็นจำนวนมาก ซึ่งก็อาจจะใช้ให้เหมาะสมกับประเภทของธุรกิจของตน เช่น .tv .name .us ฯลฯ

การจดทะเบียน Domain ภายในประเทศ

1..CO.TH ใช้ทำเว็บไซต์ของบริษัท ห้างร้านโดยทั่วไป

2..OR.TH ใช้ทำเว็บไซต์ของส่วนราชการ และชื่อโดเมนต้องเป็นชื่อขององกร หรือตัวย่อของชื่อองค์กรนั้นๆ ต้องใช้สำเนาเอกสารทางราชการเป็นหลักฐานการจดทะเบียน

3..AC.TH ใช้ทำเว็บไซต์ของสถานศึกษาต่างๆ ชื่อของโดเมนที่จดทะเบียนต้องเป็นชื่อของสถานศึกษานั้นๆ หรือชื่อย่อของชื่อสถานศึกษา ใช้สำเนาเอกสารการขออนุญาตก่อตั้งสถานศึกษาเป็นหลักฐาน

4..GO.TH ใช้ทำเว็บไซต์ของส่วนราชการของประเทศไทย โดยปกติจะเป็นองค์กรขนาดใหญ่

5..IN.TH ใช้ทำเว็บไซต์ของบุคคลธรรมดาโดยทั่วไป ชื่อโดเมนจะใช้ชื่ออะไรก็ได้ ใช้สำเนาบัตรประชาชน หรือสำเนาใบขับขี่เป็นหลักฐานการจดทะเบียน

หลักที่ใช้ในการตั้งชื่อ Domain
•ความยาวของชื่อ Domain ตั้งได้ไม่เกิน 63 ตัวอักษร
•สามารถใช้ตัวอักษรภาษาอังกฤษผสมกับตัวเลข หรือเครื่องหมายขีด (-) ได้
•ตัวอักษรภาษาอังกฤษ ใช้ตัวเล็กหรือตัวใหญ่ก็ได้
•ห้ามใช้เครื่องหมายขีด (-) นำหน้าชื่อ domain
•ห้ามเว้นวรรคในชื่อ domain

อ้างอิง :
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%8A%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B9%82%E0%B8%94%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%99
http://www.navyhost.net/knowdomain.php
http://www.readyonweb.com/web-hosting/knowledge-domainname.php
http://www.com-learning2u.com/unit/unit1/1.html

โดเมนเนม หรือ ชื่อโดเมน เป็นชื่อที่ตั้งขึ้นเพื่อให้ง่ายต่อการจดจำ เนื่องจากไอพีแอดเดรสนั้นจดจำได้ยากกว่า และเมื่อการเปลี่ยนแปลงไอพีแอดเดรส ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องรับรู้หรือจดจำไอพีแอดเดรสใหม่ ยังคงใช้โดเมนเนมเดิมได้ต่อไป
อักขระที่จะใช้ในการตั้งชื่อโดเมนเนม ได้แก่ ตัวอักษรภาษาอังกฤษ ตัวเลข และ "-" (ยัติภังค์) คั่นด้วย "." (มหัพภาค) โดยปกติ จะขึ้นต้นด้วยตัวอักษร และลงท้ายด้วยตัวอักษรหรือตัวเลข มีความยาวตั้งแต่ 1 ถึง 63 ตัวอักษร ตัวอักษรตัวใหญ่ A-Z หรือตัวอักษรตัวเล็ก ถือว่าเหมือนกัน โดย 1 ไอพีแอดเดรส สามารถใช้โดเมนเนมได้มากกว่า 1 โดเมนเนม และหลายๆ โดเมนเนมอาจจะใช้ไอพีแอดเดรสเดียวกันได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น